Thursday, May 20, 2010

เจ๋งจริง AOM

ผมได้สร้าง AOM แบบ Subdomain จากเมื่อ Indexed ร้อยกว่าเพจ มาเป็น สามร้อย มาเป็น สี่ร้อย และมาเป็นพันกว่าเพจ มันช่าง Indexed เร็วอะไรขนาดนี้ ตอนนี้มีแค่ 5 subDomains เอง หวังว่าคงไม่โดนดีอิเด็กซ์นะ

Monday, May 17, 2010

Amazon รายได้กลับมาแล้ว

หลังจากการระดมปั้ม Blog , AOM, Post , Back link , Pligg , Digg , ?,#,$,@ อย่างหนักได้มาแล้วครับ 7 Orders รู้สึกดีใจขึ้นมาทันที รีบไปดู Report Tracking ID ประจำวัน
อ้าว Orders มาจาก YSM ทั้งหมดเลย เป็น Content Sponser 2 + Yahoo Ads อีก 5 แต่ก็เป็นนิมิตหมายอันดีที่มียอดคลิก Tracking ID ที่ track ไว้เพิ่มกว่า 30 เท่าจากเดิม ก็ได้ลุ้น Adsense อีกด้วย

Wordpress Mu and Multiple Database คืออะไร

ปกติจะใช้งานแต่ Wordpress ซึ่งเป็น Blog ที่เราเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวจนได้มาเจอกับ Wordpress Mu หรือสั้นๆ เรียกว่า WPMU ซึ่งการทำงานเหมือน Wordpress ทุกประการแต่ WPMU จะรองรับ Multi-user ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Blog เองได้บน WPMU ตัวเดียวกันกับเรา ไม่ต้องไปสร้างสำเนาไดเรกทอรีเหมือน Wordpress จึงสะดวกมากสำหรับนักปั้มเว็บแบบเรา

แต่เมื่อ Blog สามารถสร้างได้เองด้วยจำนวนที่ไม่จำกัด ส่งผลให้ MySQL Database ขนาดใหญ่จนเรียกว่าบวมไปเลย ผู้อ่านคงจะเกิดข้อสงสัยว่าแล้วจำนวน Blog เท่าไหร่กันที่จะทำ Database บวมจนทำให้เว็บทำงานล่าช้า .....
ไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่โดยแนวคิดของฐานข้อมูลแล้วเมื่อตาราง(Table) มีข้อมูลจำนวนมากแล้ว Database จะทำงานได้ช้าลงเนื่องจากจะเปรียบเทียบ Index กับข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีคนคิดค้นสร้างให้ข้อมูลที่เคยจัดเก็บไว้ที่เดียว ให้เก็บกระจายไปที่ต่างๆ แล้วมี Database อีกตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเก็บว่าข้อมูลกระจายไปที่ใดบ้าง (ซึ่ง Database ตัวนี้จะมีโหลดมากกว่า Database ตัวอื่นแต่ไม่ได้เก็บข้อมูลเยอะเหมือน Database ตัวอื่น) ผู้คิดค้น Plug-Ins ที่ชื่อ Multi-DB ชื่อว่า Andrew Billits กำหนดเงื่อนไขในการสร้างจำนวน Databases เหมาะสมกับ Blog ที่จะสร้างคือ
- จำนวน Blog <= 1,000 ให้สร้าง Database 16 ตัว
- จำนวน Blog <= 100,000 ให้สร้าง Database 256 ตัว
- จำนวน Blog > 100,000 ให้สร้าง Database 4096 ตัว

วิธีการติดตั้งก็แสนง่าย
1. ลง WPMU ตามปกติ
2. สร้าง Database ใหม่ ใช้ Script จาก http://db-tools.wpmudev.org/ พร้อมปรับแต่งนิดหน่อย
3. รัน Script จากข้อ 2 ผ่าน phpMyAdmin
3. ติดตั้ง Multi-DB ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ไฟล์ดังนี้
- db.php - คัดลอกไปไว้ใน /wp-content
- db-config.php - คัดลอกไปไว้ใน /wp-content
- move-blogs.php - คัดลอกไปไว้ใน /wp-content/scripts หรือไว้ที่ /  (root) เลยก็ได้
4. ปรับแต่ง db-config.php และ move-blogs.php ให้เรียบร้อย
5. รัน move-blog.php
6. ตรวจสอบใน phpMyAdmin ว่าข้อมูลที่เคยมีถูกกระจายลงฐานข้อมูลต่างๆ ก็เป็นอันเรียบร้อย

Guideline : http://jimgroom.umwblogs.org/2009/01/27/wpmu-multi-db-tutorial/

ผมใช้เวลาหลงทางไปเกือบ 2 วัน กับการทำตาม URL Guideline ที่ให้ไว้ Blog ไม่สามารถเปิดได้ จนกระทั่งปิด //add_vip_blog(1, 'vip1'); ไป จึงสามารถใช้งานได้

หลังจากรัน move-blogs.php แล้ว เจอข้อความนี้ชอบมากเลยครับ
If this didn't work, don't blame me. Sometimes life is just like that..

ไว้วันหลังจะนำวิธีทำแบบละเอียดมาให้ดูครับ

Amazon.com: Bestsellers in Books

Popular Documents